วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557

KM OTOP Diary (OD) สมุดบันทึกการปฏิบัติงานของกลุ่ม OTOP

KM OTOP Diary (OD)
สมุดบันทึกการปฏิบัติงานของกลุ่ม OTOP
นายนิเลาะ นิธิพันธุ์กุล
นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่าโอทอป (OTOP) หรือ “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” เป็นแนวคิดที่กำเนิดขึ้นจากแนวคิดธุรกิจชุมชนเพื่อพัฒนาประเทศของประเทศญี่ปุ่นที่มีชื่อเรียกว่า โครงการ One Village One Product หรือ OVOP ที่รัฐบาลไทยเอามาปรับใช้และประกาศเป็นนโยบายสำคัญในปี พ.ศ. 2544 โดยใช้ชื่อว่า “One Tambon One Product” หรือOTOP โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างงานสร้างรายได้แก่ชุมชน สร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนให้สามารถคิดเอง ทำเอง ในการพัฒนาท้องถิ่นเสริมสร้างภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมในท้องถิ่น
ในการดำเนินงานดังกล่าว รัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ หรือเรียกโดยย่อว่า กอ.นตผ. ให้มีอำนาจหน้าที่หลายประการ เช่น การกำหนดนโยบายยุทธศาสตร์ และแผนแม่บทการดำเนินงาน “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” กำหนดมาตรฐานและหลักเกณฑ์การคัดเลือกและขึ้นบัญชีผลิตภัณฑ์ดีเด่นของตำบลรวมทั้งสนับสนุนให้การดำเนินงานเป็นไปตามนโยบายยุทธศาสตร์และแผนแม่บทอย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งให้กำหนดนโยบายเพิ่มประสิทธิภาพ บริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ คณะกรรมการ กอ.นตผ. จึงได้กำหนดประเภทของผลิตภัณฑ์ชุมชน ไว้ 5 ประเภท ประกอบด้วย 1) ประเภทอาหาร 2) ประเภทเครื่องดื่ม 3) ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย    4) ประเภทของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก และ 5) ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร
การดำเนินงานของกลุ่ม OTOP ที่ผ่านมา กลุ่ม OTOP ไม่มีความสามารถในการบริหารจัดการกลุ่มเท่าที่ควร และขาดการเอื้อหนุนที่ดีจากทุกภาคส่วน โครงการ OTOP Diary สมุดปฏิบัติงานของกลุ่ม OTOP จึงเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่จะเอื้ออำนวยให้การดำเนินงานของกลุ่ม OTOP มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ขุมความรู้
1. แนวคิดภูมิปัญญาไทย (Thai Wisdom)
2. แนวคิดโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์

แก่นความรู้

เนื้อหาของสมุดบันทึก


กลยุทธ์ในการทำงาน
1. ประชุมคณะกรรมการเครือข่าย OTOP
2. ออกแบบสมุดบันทึกการปฏิบัติงาน
3. จัดทำสมุดบันทึกการปฏิบัติงาน
4. กลุ่ม OTOP บันทึกงานปฏิบัติงาน
5. ติดตาม/วิเคราะห์/ประเมินผล

เทคนิคการทำงานกับผู้นำ อช.ตามบทบาทหน้าที่ในการกระตุ้นชุมชนให้เกิดการพัฒนา”


โครงการหนึ่งนักพัฒนา  หนึ่งโครงการริเริ่มสร้างสรรค์
“เทคนิคการทำงานกับผู้นำ อช.ตามบทบาทหน้าที่ในการกระตุ้นชุมชนให้เกิดการพัฒนา”

ส่วนที่ ๑   บทนำ
ด้วยกรมการพัฒนาชุมชน  ได้ดำเนินงานตามโครงการพัฒนาผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนตามมติคณะรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่  ๒๘  มกราคม ๒๕๑๒  มาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า ๔๐ ปี ด้วยแนวคิดที่ว่า  งานพัฒนาชุมชน คนในชุมชน ย่อมมีความรู้ ความเข้าใจต่อปัญหาได้ดีกว่า  โดยมีเป้าประสงค์ที่จะสนับสนุนให้ผู้นำ อช.เป็นนักพัฒนาภาคประชาชน  สามารถทำงานทดแทนเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนได้  และได้มอบหมายให้ผู้นำ อช.เข้ามามีบทบาทในการเป็นผู้ส่งเสริม  สนับสนุน และประสานการดำเนินงานด้านการพัฒนาชุมชน
ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่  ๒  ด้านการเสริมสร้างขีดความสามารถการบริหารงานชุมชน  มีเป้าประสงค์ให้เกิดกระบวนการเรียนรู้  การพัฒนาคน เพื่อให้มีความสามารถในการบริหารงานในหมู่บ้าน/ชุมชนของตนเองให้เกิดการพัฒนาเปลี่ยนแปลง  เพื่อช่วยให้ประชาชนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  และสังคมเกิดการสามัคคี  เกื้อกูลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
และจากการที่ได้ปฏิบัติงานในพื้นที่อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา การที่จะพัฒนาพื้นที่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  จำเป็นต้องพัฒนาคน  ซึ่งประชาชนและผู้นำชุมชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม  มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย  ยึดขนบธรรมเนียมประเพณี หลักศาสนา ในการดำรงชีวิต  ผู้นำส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจในการบริหารงานชุมชนค่อนข้างน้อย  พัฒนากรจึงต้องหาตัวกระตุ้นให้ผู้นำชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจในการบริหารงานชุมชน ให้ประชาชนรู้จักช่วยตนเองและเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ริเริ่มและสนับสนุนการดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านของตนเอง  จึงเล็งไปที่ผู้นำ อช.  ซึ่งได้มองเห็นแล้วว่า  เป็นผู้ที่มีจิตอาสาที่จะพัฒนาหมู่บ้านของตนเอง  ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีความคิดและจัดทำโครงการหนึ่งนักพัฒนา หนึ่งโครงการริเริ่มสร้างสรรค์  ประจำปี ๒๕๕๗  เพื่อเป็นการพัฒนาคนและให้เกิดแรงกระตุ้นแก่ผู้นำชุมชนในการพัฒนาหมู่บ้านให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อให้ผู้นำ อช.ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของตนเอง  และเป็นต้นแบบที่ดีแก่หมู่บ้านอื่น ๆ
๒. เพื่อสร้างผู้นำ อช.รุ่นใหม่ให้มีคุณภาพ (ผู้นำ อช.รักบ้านเกิด)
๓. เพื่อให้ผู้นำ อช.เป็นแรงกระตุ้นผู้นำชุมชนในการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนให้เกิดผลสำเร็จ
๔. เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้นำ อช.และทีมผู้นำชุมชน  เพื่อให้รู้จักการบริหารงานในพื้นที่

เป้าหมาย
ผู้นำ อช.,  อช. และทีมผู้นำชุมชนในพื้นที่บ้านกาบัง  หมู่ที่ ๗  ตำบลกาบัง อำเภอกาบัง  จังหวัดยะลา

วิธีการและกระบวนการดำเนินงาน
๑. สร้างความคุ้นเคยพร้อมแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ของผู้นำ อช./อช.
๒. จัดเวทีระดมความรู้จากแกนนำและผู้นำ อช.
๓. ค้นหาความรู้จากสื่ออื่น ๆ เช่น ความรู้ในชุมชน/วัฒนธรรม/ปราชญ์ชาวบ้าน/สื่ออินเทอร์เน็ต
๔. ประชุมสร้างความรู้ ความเข้าใจกับผู้นำ อช.  อช. และทีมผู้นำชุมชน ในด้านการบริหารงานชุมชน
๕. จัดเวทีเรียนรู้  นำเสนอผลการบริหารงานในชุมชน  ปัญหา  แนวทางแก้ไข
๖. สรุปผลการดำเนินงานจากการร่วมกันทำงานของผู้นำ อช.  อช. และทีมผู้นำชุมชน

การสร้างความเข้าใจแก่ผู้นำ อช./ อช.และทีมผู้นำชุมชน  โดยใช้บทบาทหน้าที่ของผู้นำ อช.ดังนี้
      (1)  กระตุ้นให้องค์กรประชาชน  รู้สภาพปัญหาของหมู่บ้านและสามารถวางแผนงานเพื่อแก้ไขปัญหาได้เอง  รวมถึงการกระตุ้นให้ประชาชนรู้จักช่วยตนเอง  และเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
   (2)  ริเริ่มและสนับสนุนการดำเนินงานพัฒนา  โดยเป็นที่ปรึกษากลุ่มเยาวชน  กลุ่มสตรี  กลุ่ม
อาสาสมัคร  ตลอดจนองค์กรประชาชน  และกิจกรรมการพัฒนาต่าง ๆ
             (3)  ช่วยเหลือ  สนับสนุน  การดำเนินงานตามแผนงานโครงการหรือกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้าน
              (4)  เป็นผู้ประสานงานระหว่างองค์กรประชาชนกับหน่วยงานของรัฐ  องค์กรเอกชน  หรือเอกชนอื่น
              (5)  ปฏิบัติหน้าที่อื่น ตามที่เวทีประชาคม คณะกรรมการหมู่บ้าน/ทางราชการมอบหมาย
และสร้างความเข้าใจภารกิจหลักของอาสาพัฒนาชุมชน และผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนไว้ ๘ ประการคือ
 ๑. การจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ข้อมูล กชช.๒ค
 ๒. การจัดทำแผนชุมชน
 ๓. การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
 ๔. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
 ๕. การส่งเสริมวิถีประชาธิปไตย
 ๖. การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
 ๗. การจัดการศูนย์เรียนรู้ชุมชน
 ๘. การพัฒนาเด็ก

ส่วนที่ ๒

นำเสนอผลผลิต และผลลัพธ์ หรือนวตกรรมที่เกิดจากการจัดการความรู้

จากการดำเนินการตาม  “โครงการเทคนิคการทำงานกับผู้นำ อช.ตามบทบาทหน้าที่ในการกระตุ้นชุมชนให้เกิดการพัฒนา”  โดยมีผู้เข้าร่วมการดำเนินงานตามโครงการนี้  คือ  ผู้นำ อช. (นายอุสมาน  แวเต๊ะ) เป็นตัวหลัก ซึ่งนายอุสมานฯ เป็นผู้นำ อช.ชาย ตำบลกาบัง  พื้นที่ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ ๗ บ้านกาบัง และเคยได้รับรางวัลผู้นำ อช.ชายดีเด่นระดับจังหวัด ประจำปี ๒๕๕๖ ตามโครงการเชิดชูเกียรติผู้นำชุมชน องค์กรเครือข่ายของกรมการพัฒนาชุมชน   อช.เป็นผู้ร่วม  และทีมผู้นำชุมชน  ได้แก่  ผู้ใหญ่บ้าน  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  คณะกรรมการหมู่บ้านฯ  ผู้นำศาสนา ผู้นำสตรี/เยาวชน)
และจากการที่ นายอุสมาน  แวเต๊ะ  ผู้นำ อช. ต.กาบัง  มีบ้านพักอาศัยอยู่ ณ บ้านกาบัง  หมู่ที่ ๗  ตำบลกาบัง  อำเภอกาบัง  จังหวัดยะลา  และด้วย นายอุสมานฯ  เป็นผู้ที่มีจิตใจอาสา  ชอบช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอด  ทำให้ได้รับความไว้วางใจจากผู้ใหญ่บ้าน บ้านกาบัง  ให้เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านอีกด้วย  จึงทำให้เป็นการปูทางในการดำเนินงานตามโครงการนี้อีกทางหนึ่ง  
ผลการดำเนินงานพอสรุปได้ ดังนี้
๑. นายอุสมาน  แวเต๊ะ  ผู้นำ อช.ดีเด่น  ได้รับความไว้วางใจจากผู้นำชุมชน  และเป็นที่ยอมรับของประชาชน/ทีมงานทั้งในหมู่บ้านและจากภาคราชการและเอกชน  สามารถบูรณาการการทำงานได้จากทุกภาคส่วน  โดยใช้ความมีจิตอาสา  การรู้จักสำนึกในบทบาทหน้าที่ของผู้นำ อช. และเป็นแรงกระตุ้นให้ผู้นำชุมชน/ทีมงานได้ขับเคลื่อนงาน   ทีมงานในหมู่บ้านได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
๒. ผู้นำชุมชน/ทีมงาน  ได้รับการกระตุ้น  เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในการพัฒนาชุมชน
๓. เกิดความสามัคคีในทีมงานผู้นำชุมชน  ร่วมมือในการเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่
๔. ผู้นำชุมชน/ทีมงาน  เข้าใจการบริหารงานและสามารถบริหารงานในพื้นที่เกิดการพัฒนาที่ดีขึ้น
๕. เป็นการสร้างทีมงาน  เกิดการพัฒนาศักยภาพและเกิดภาวะผู้นำ
๖. ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างอาสาสมัคร/ผู้นำชุมชน/ทีมงานกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ
๗. ทำให้เกิดการบูรณาการระหว่างเจ้าหน้าที่ภาครัฐ

วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2557

กองทุนแม่ของแผ่นดินสู่การออม

ชื่อความรู้ กองทุนแม่ของแผ่นดินสู่การออม
เจ้าของความรู้ นางสาวจิตรา  หนูมาก
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเบตง จังหวัดยะลา
แก้ปัญหาเกี่ยวกับ การส่งเสริมการออม/การบริหารจัดการกลุ่มแบบธรรมาภิบาล/การบริหารจัดการทุน
แบบมีส่วนร่วม
เรื่องเล่า
๑. ส่วนนำ
กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ได้มอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการเสริมสร้างความเข้มแข็งกองทุนแม่ของแผ่นดิน ซึ่งเป็นการขยายพลังแห่งความดีของคนในหมู่บ้าน และชุมชน เสริมสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนความคิดความรู้ร่วมกันภายในหมู่บ้าน และชุมชน ร่วมกันแก้ปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านและชุมชนอย่างยั่งยืน จัดตั้งกองทุนในการสนับสนุนกิจกรรมการแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านและชุมชน สนับสนุนค่าใช้จ่ายที่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะในการแก้ไขปัญหายาเสพติด รวมถึงปัญหาอื่นๆ ในหมู่บ้าน และชุมชน
เป้าหมายของการจัดตั้งกองทุนแม่ของแผ่นดิน สรุปได้ดังนี้คือ
- เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด
-เพื่อเฝ้าระวังคนในชุมชนให้ห่างไกลยาเสพติด
-เพื่อส่งเสริมอาชีพคนในชุมชน
-เพื่อช่วยเหลือคนยากจนในชุมชน
-เพื่อสร้างสวัสดิการในชุมชน
-เพื่อสร้างความสามัคคีในชุมชน
-ฯลฯ บ้านอัยเยอร์เบอร์จัง หมู่ที่ ๑ ตำบลธารน้ำทิพย์ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ได้รับพระราชทานเงินกองทุนแม่ของแผ่นดิน เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๒ และได้ดำเนินการตามขั้นตอนมาอย่างต่อเนื่อง จนมีกิจกรรมเป็นที่ประจักษ์และสามารถเป็นศูนย์เรียนรู้กองทุนแม่ได้
จากความสามัคคีของคนในชุมชนที่ร่วมกันดำเนินกิจกรรมมาโดยตลอดจนเป็นกลุ่มที่เข้มแข็ง ประกอบกับในหมู่บ้านยังไม่มีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต และจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๐
ได้กำหนดยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมให้เป็นฐานรากที่มั่นคงของประเทศโดยให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างทุนของประเทศที่มีอยู่ทั้งที่เป็นทุนทางสังคมทุนเศรษฐกิจและทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องมีการพัฒนาอย่างเชื่อมโยง ดังนั้น การเสริมสร้างความมั่นคงของเศรษฐกิจชุมชน โดยเฉพาะเศรษฐกิจฐานราก จำเป็นต้องให้ความสำคัญและพัฒนาควบคู่กันไปทั้งทุนทางกายภาพ  ทุนมนุษย์  ทุนทางสังคม ทุนทางธรรมชาติ และด้านเงินทุน
กรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน และมียุทธศาสตร์ในพัฒนาทุนชุมชนและพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนให้เข้มแข็ง ในการเสริมสร้างและพัฒนาระบบทุนชุมชน การบริหารจัดการทุนชุมชน ตลอดจนประสานงานและแสวงหาความร่วมมือในการพัฒนารูปแบบ/วิธีการขยายกิจกรรมของทุนชุมชน  โดยมุ่งเน้นให้ชุมชนเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ ในฐานะนักวิชาการพัฒนาชุมชน มีภารกิจในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน ด้วยการพัฒนาระบบและกลไกในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้  การจัดการความรู้ การอาชีพ การออม และการบริหารจัดการเงินทุนของชุมชนได้ร่วมสนับสนุนให้ประชาชนในชุมชนรู้จักวิธีการบริหารจัดการกองทุนในชุมชนเพื่อการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเงินทุนและปัญหาความยากจน โดยส่งเสริมให้มีการก่อตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตขึ้นในชุมชนในกลุ่มจึงมีมติที่จะสร้างกลุ่มออมทรัพย์ขึ้นมาเพื่อส่งเสริมการออมน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต และใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารชุมชนด้วยชุมชนเองจึงได้จัดตั้ง “กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตกองทุนแม่ของแผ่นดินบ้านอัยเยอร์เบอร์จัง” ขึ้น
๒. ส่วนขยาย
กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตกองทุนแม่ของแผ่นดินบ้านอัยเยอร์เบอร์จัง ปัจจุบันมียอดเงินสัจจะสะสม ประมาณ ๒๔๐,๐๐๐ บาท โดยมีสมาชิกทั้งหมดประมาณ ๖๐ กว่าราย ส่งเงินสัจจะสะสมอย่างต่อเนื่อง
โดยกลุ่มดำเนินการจัดสรรเงินปล่อยกู้ให้กับสมาชิกโดยดำเนินการตามแนวทางกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
เพื่อนำผลกำไรมาจัดสรรเป็นสวัสดิการให้กับคนในชุมชน จัดกิจกรรมด้านสาธารณะประโยชน์ของกลุ่ม
ที่เชื่อมโยงกับประเพณีวัฒนธรรมของท้องถิ่นที่สร้างศักภาพของชุมชนได้อย่างยั่งยืน  สามารถสร้างความภาคภูมิใจให้กับสมาชิกกลุ่มและชุมชนเป็นการส่งเสริมอาชีพให้กับคนในชุมชนโดยเฉพาะกลุ่มอาชีพที่ต้องรักษาไว้ ช่วยเหลือคนเป็นหนี้นอกระบบ ให้สามารถเป็นแหล่งทุนชุมชนที่สามารถช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่สมาชิกกลุ่มในด้านการเงินตลอดจนเป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างการเรียนรู้ของคนในชุมชนในการบริหารกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตามหลักคุณธรรม๕ประการได้แก่
๑.ความซื่อสัตย์
๒.ความเสียสละ
๓.ความรับผิดชอบ
๔.ความเห็นอกเห็นใจ
๕.ความไว้วางใจกันและกัน
บันทึกขุมความรู้(Knowledge Assets)
๑. ปลุกกระแสสร้างอุดมการณ์สู่การปฏิบัตินำไปสู่ความสำเร็จ
๒. การบริหารจัดการที่จะทำให้กลุ่มฯ ประสบผลสำเร็จ และไม่มีปัญหา เพราะการบริหารจัดการเงินทุนเป็น
เรื่องยาก ต้องให้ผู้เข้าร่วมเข้าใจทุกขั้นตอนอย่างละเอียด
๓. จัดเวทีประชาคมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานและเพื่อฟังความคิดเห็น ทุกระดับ
๔. ดำเนินการตรวจสุขภาพทางการเงินกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับสูงสุด
แก่นความรู้(Core Competency)
๑. ศึกษาข้อมูลกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตอย่างละเอียด
๒. ศึกษาแนวทางและหลักเกณฑ์ พร้อมทั้งเครื่องมือในการดำเนินงานอย่างละเอียด และรอบคอบ
๓. ปรึกษาหารือ จัดเวทีประชาคม ชี้แจงทำความเข้าใจทุกขั้นตอน
๔. ให้หลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงาน
๕. การติดตามสนับสนุนมีผลต่อการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
๖. การตรวจสุขภาพทางการเงินกองทุนชุมชนของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเป็นเครื่องมือที่สร้างความกระตือรือร้นในการพัฒนากลุ่มฯ
กลยุทธ์ในการทำงาน
๑. ศึกษาข้อมูลกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ในด้านคณะกรรมการบริหาร ระเบียบ การปฏิบัติตามระเบียบ สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
๒. ศึกษาแนวทางและหลักเกณฑ์ พร้อมทั้งเครื่องมือในการดำเนินงานอย่างละเอียด และรอบคอบโดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานทุกขั้นตอนเพื่อให้การพัฒนาศักยภาพของชุมชนตนเองเป็นไปอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน
๓. ปรึกษาหารือ จัดเวทีประชาคม ชี้แจงทำความเข้าใจทุกขั้นตอน
๔. ดำเนินการโดยใช้หลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานใช้หลักธรรมาภิบาล ในการบริหารกลุ่มฯเพราะชุมชนสามารถแก้ไขปัญหาของตนเองได้อย่างดียิ่งเกิดความภาคภูมิใจ ด้วยความเสียสละ ร่วมแรงร่วมใจกันทำงาน ทำให้ชุมชนสามารถมีศักยภาพ เป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วน
กฎระเบียบ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
๑. หลักการ/แนวทาง/การส่งเสริมสนับสนุนการจัดตั้ง การดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
๒.เทคนิคการทำงานกับชาวบ้าน
๓.กระบวนการมีส่วนร่วม
๔. หลักการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตยึดมั่นใน “สัจจะ” ที่มีต่อตนเอง
๕. หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๓. ส่วนสรุป
๑. สมาชิกจะมีเงินเก็บอย่างไม่รู้ตัวแต่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ
๒. บรรเทาเหตุจำเป็น/ฉุกเฉิน ไม่ต้องเป็นหนี้นอกระบบ
๓.สมาชิกรู้จักประหยัดและมีเงินออมไว้ใช้ยามจำเป็น
๔. ให้สมาชิกมีนิสัยรักการออม
๕.สร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวสมาชิก
๖.เป็นการช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในกลุ่มสมาชิก
๗.สมาชิกได้รับทราบบทบาทหน้าที่มีส่วนร่วมรวมถึงสิทธิประโยชน์ของตนตามระเบียบของกลุ่มออมทรัพย์และปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กลุ่มออมทรัพย์กำหนด
๘. ให้ชุมชนบริหารชุมชนด้วยชุมชนเองบริหารจัดการทุนชุมชนแบบมีส่วนร่วม
๙. สามารนำเงินที่มีอยู่ในทุนชุมชนไปพัฒนาอาชีพในชุมชน ส่งเสริมสวัสดิการในชุมชน
๔. ที่อยู่/เบอร์โทรศัพท์
๑๘๐ ถนนอรรถเวที ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
เบอร์โทร...๐๗๓-๒๓๑๑๔๗ , ๐๘๙-๙๗๔๙๐๖๙

การปรับกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยมองค์กร

ชื่อความรู้   การปรับกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยมองค์กร
เจ้าของความรู้   นายประพันธ์   ทองสีดำ
ตำแหน่ง/สังกัด   พัฒนาการอำเภอเบตง จังหวัดยะลา
แก้ปัญหาเกี่ยวกับ   การส่งเสริมและสนับสนุนการนำค่านิยมองค์กรสู่การปฏิบัติอย่างยั่งยืน
เรื่องเล่า   ค่านิยมองค์กร ABC DEF
๑. ส่วนนำ
                ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การพัฒนาระบบการบริหารงานบุคคลของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดยะลาประสบผลสำเร็จได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับบุคลากรของสำนักงานฯ เป็นสำคัญ เพราะหากบุคลากรยังมีกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยมที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบราชการ หรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ แล้ว ก็จะเป็นการยากที่จะทำให้การพัฒนาระบบราชการของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดยะลาประสบผลสำเร็จ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเบตงซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งในสังกัดหน่วยงานข้างต้นก็ติดอยู่ในกรอบแนวคิดนี้เช่นกัน ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าจุดเริ่มต้นแห่งความสำเร็จในการพัฒนาหรือการจะเปลี่ยนแปลงองค์กรใด ๆ ขึ้นอยู่กับทัศนคติของบุคลากรเป็นสำคัญ ดังที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการกำหนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของข้าราชการ    ยุคใหม่ไว้ดังนี้
                I : Integrity   การปฏิบัติงานอย่างมีศักดิ์ศรี
                คำอธิบาย : การทำงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และทุ่มเทให้กับการทำงาน ภายใต้กฎระเบียบและวิชาชีพ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน และส่วนรวมมากกว่าส่วนตน
                A : Activeness   ความขยัน ตั้งใจทำงาน ปฏิบัติงานเชิงรุก
                คำอธิบาย : การทำงานด้วยความกระตือรือร้น มีความรู้ มีความสามารถในงานที่รับผิดชอบ มีความคิดสร้างสรรค์ พร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และพัฒนากระบวนการทำงานเพื่อให้งานสำเร็จตามที่ได้รับมอบหมายอย่างมีคุณภาพและทันเวลา
                M : Morality   การมีใจคุณธรรม ปฏิบัติราชการด้วยใจบริสุทธิ์ และกุศลเจตนา
                คำอธิบาย : การปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับหลักศาสนา และกฎระเบียบต่าง ๆ เช่น คุณธรรม จริยธรรม ความโปร่งใส รวมถึงการปฏิบัติงานที่ปราศจากอคติ และมีศูนย์รับเรื่องร้องเรียน
                R : Relevancy   การเรียนรู้ และปรับตัวทันโลกตรงกับสังคม
                คำอธิบาย : การยอมรับและเรียนรู้เครื่องมือ เทคโนโลยี และความคิดใหม่ๆ รวมถึงความสามารถในการประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนากระบวนงาน
                E : Efficiency   การทำงานที่มีประสิทธิภาพ สามารถวัดและแสดงได้อย่างชัดเจน
                คำอธิบาย : การพัฒนาบุคลากร ระบบงาน และการให้บริการเพื่อให้เกิดความรวดเร็ว ถูกต้อง และปลอดภัยในการปฏิบัติงาน รวมถึงการมุ่งให้งานสำเร็จโดยใช้ต้นทุนต่ำ
                A : Accountability   ความรับผิดชอบต่อผลสำเร็จของงาน และต่อสาธารณะ
                คำอธิบาย : ปฏิบัติราชการโดยมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนที่จะต้องทำประโยชน์เพื่อประชาชนและสังคม รวมถึงความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย พร้อมที่จะถูกตรวจสอบและเปิดรับฟังข้อเสนอแนะหรือทำประชาพิจารณ์จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยให้ความสำคัญต่อประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติหน้าที่
                D : Democracy   การมีใจเป็นประชาธิปไตย
                คำอธิบาย : การรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากบุคลากร ทีมงาน ผู้รับบริการและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมถึงรูปแบบการทำงานเป็นทีม และการแต่งตั้งคณะทำงานมากขึ้น
                Y : Yield   การมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ และปฏิบัติงานโดยเน้นผลสัมฤทธิ์เป็นสำคัญ
                คำอธิบาย : ความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ หรือบรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัด โดยผลงานต้องได้มาตรฐานตามกำหนดเวลา ลดขั้นตอนในการทำงาน ประชาชนพึงพอใจ โดยมุ่งผลลัพธ์มากกว่าขั้นตอนและระเบียบแบบแผน
                จากภารกิจสำคัญในการปฏิรูประบบราชการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการดังกล่าว กรมการพัฒนาชุมชนจึงได้ดำเนินการศึกษาและพัฒนากระบวนการออกแบบค่านิยมองค์กร ๔ Ds Phasing โดยมีอาจารย์จากสถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี                     ( ดร.อรัญ   โสตถิพันธุ์) เป็นที่ปรึกษาในการดำเนินงานตามกระบวนการโดยดำเนินการศึกษาค่านิยมที่พึงประสงค์ของกรมการพัฒนาชุมชนตามจุดแข็งของบุคลากรและตามบริบทในการปฏิบัติภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคน ซึ่งมีผลลัพธ์ดังนี้
                A : Appreciation   ชื่นชมผู้อื่น
                คำอธิบาย : การทำงานพัฒนาชุมชนถ้าเราไม่สามารถชื่นชมบุคคลอื่นจะทำให้การทำงานแบบ Work With ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย คนที่เป็นนักพัฒนาจึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ว่าจะชื่นชมผู้อื่นได้อย่างไร นอกจากนี้ตัว A หรือ Appreciation ยังเป็นอักษรตัวแรกของกระบวนการฝึกอบรมตามเทคนิค AIC ซึ่งเทคนิค AIC จะมุ่งให้ผู้ที่อยู่ในกระบวนการได้รู้จักชื่นชมผู้อื่นก่อน เป็นลำดับแรก โดยมีเกณฑ์บ่งชี้พฤติกรรมทั้ง ๓ ระดับ ดังนี้
                คุณลักษณะที่พึงประสงค์ในระดับพื้นฐาน
๑.     ทักทาย สวัสดี ยกมือไหว้ ยิ้มแย้มแจ่มใส
๒.    มีปิยะวาจา กล่าวคำขอบคุณ ขอโทษ ไม่เป็นไรตามโอกาสให้เป็นนิสัย
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ในระดับท้าทาย
๑.     ตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของผู้อื่น
๒.    ยกย่อง ชมเชย ความรู้ความสามารถของผู้อื่น
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ในระดับต้นแบบ
๑.     แสดงออก พูด คิด ทำ ในเชิงสร้างสรรค์
๒.    เป็นแบบอย่างของผู้ร่วมงานและทีมงานที่ดี
B : Bravery   กล้าหาญ
คำอธิบาย : ต้องมีความกล้าที่จะตัดสินใจในการทำงาน กล้าที่จะเสนอความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานทั้งเชิงสร้างสรรค์ และเชิงคัดค้าน รวมถึงกล้าที่จะชื่นชมผู้อื่น    โดยมีเกณฑ์บ่งชี้พฤติกรรมทั้ง ๓ ระดับ ดังนี้
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ในระดับพื้นฐาน
๑.     แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน
๒.    ทำในสิ่งที่ถูกต้อง
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ในระดับท้าทาย
๑.     ยอมรับความคิดเห็น ข้อวิพากษ์ และข้อวิจารณ์ของผู้อื่นได้
๒.    รับผิดชอบต่อผลงาน และผลการกระทำของตนเอง
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ในระดับต้นแบบ
๑.     เป็นแบบอย่างในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
๒.    กล้าปฏิเสธในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
C : Creativity   ริเริ่มสร้างสรรค์
คำอธิบาย : ต้องมีความกล้าที่จะคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กระตุ้น และผลักดันให้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์นั้นปรากฏผลเป็นรูปธรรม โดยมีเกณฑ์บ่งชี้พฤติกรรมทั้ง ๓ ระดับ ดังนี้
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ในระดับพื้นฐาน
๑.     พัฒนาและปรับปรุงงานที่รับผิดชอบเสมอ
๒.    แสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ในการทำงาน
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ในระดับท้าทาย
๑.     นำความคิดมาพัฒนางาน และเสนอผลงานให้แตกต่างและดีกว่าเดิม
๒.    วิจัย และพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ


คุณลักษณะที่พึงประสงค์ในระดับต้นแบบ
๑.     มีนวัตกรรมในการทำงาน
๒.    เป็นตัวอย่างในการส่งเสริมให้เพื่อนร่วมงานคิดริเริ่ม สร้างสรรค์
D : Discovery   ใฝ่หาความรู้
คำอธิบาย : ต้องมีความกระตือรือร้นในการใฝ่หาความรู้ จึงจะเกิดหรือค้นพบในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน และนำความรู้ที่ค้นพบมาเป็นพื้นฐานในการทำงาน โดยมีเกณฑ์บ่งชี้พฤติกรรมทั้ง ๓ ระดับ ดังนี้
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ในระดับพื้นฐาน
๑.     กระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย
๒.    ชอบตั้งคำถาม
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ในระดับท้าทาย
๑.     สามารถนำความรู้มาพัฒนางานได้
๒.    ชอบค้นหาความรู้ใหม่ ๆ
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ในระดับต้นแบบ
๑.     มีการเรียนรู้และพัฒนางานของตนเองอย่างต่อเนื่อง
๒.    มีผลงานจากการนำความรู้มาปฏิบัติจนเห็นเป็นรูปธรรม
E : Empathy   เข้าอกเข้าใจ
คำอธิบาย : ความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น หรือการเอาใจเขามาใส่ใจเรา โดยพยายามเข้าใจว่าทำไมเขาจึงเป็นเช่นนั้น (ไม่ใช่การเห็นอกเห็นใจ หรือการไม่รู้สึกอะไรเลย) โดยมีเกณฑ์บ่งชี้พฤติกรรมทั้ง ๓ ระดับ ดังนี้
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ในระดับพื้นฐาน
๑.     เป็นผู้ฟังที่ดี
๒.    รับรู้เรื่องราวต่าง ๆ อย่างมีเหตุมีผล
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ในระดับท้าทาย
๑.     ยอมรับความแตกต่างของบุคคลอื่น
๒.    รู้และเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่น
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ในระดับต้นแบบ
๑.     ปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความเข้าอกเข้าใจอย่างมีเมตตา
๒.    ใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจ


F : Facilitation   เอื้ออำนวยความสะดวก
คำอธิบาย : เป็นวิธีการหนึ่งของนักพัฒนาที่จะต้องเอื้ออำนวยให้ผู้อื่นสามารถทำกิจกรรมจนบรรลุเป็นผลสำเร็จได้ตามต้องการ โดยมีเกณฑ์บ่งชี้พฤติกรรมทั้ง ๓ ระดับ ดังนี้
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ในระดับพื้นฐาน
๑.     วางตัวให้เหมาะสมตามกาลเทศะ
๒.    มีทักษะในการสื่อสารให้บุคคลอื่นสามารถเข้าใจและปฏิบัติได้
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ในระดับท้าทาย
๑.     ให้โอกาสผู้อื่นในการคิดและตัดสินใจ
๒.    ช่วยทำให้งานของผู้อื่นง่ายขึ้น และเป็นไปได้มากยิ่งขึ้น
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ในระดับต้นแบบ
๑.     ช่วยทำให้การทำงานของผู้อื่นมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล
๒.    เป็นแบบอย่างของผู้เอื้ออำนวย
๒. ส่วนขยาย
            ก่อนตัดสินใจกำหนดดำเนินการปรับกระบวนทัศน์ วัฒนธรรมและค่านิยมองค์กรของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเบตง ทีมงานพิจารณาแล้วเห็นว่า ทำอย่างไรบุคลากรจึงจะทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข รักใคร่ สามัคคีปรองดองแบบพี่แบบน้อง มีชีวิตชีวา ไม่แข็งกระด้าง สักแต่จะทำงานให้จบไปวันๆ     จากแนวคิดดังกล่าว จึงนำไปสู่การกำหนดแนวปฏิบัติงานได้ผล คนมีค่านิยม และมีความสุข ตาม ๖ ขั้นตอน ดังนี้
            ขั้นตอนที่ ๑  กำหนดยุทธศาสตร์ของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเบตง ประจำปี ๒๕๕๗  โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของบุคลากรในสำนักงานฯ และกำหนดไว้อย่างเป็นทางการ
            ขั้นตอนที่ ๒  จัดทำแผนงาน ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กรมฯ ด้วยค่านิยมองค์กร โดยไม่ใช้งบประมาณของทางราชการ  
            ขั้นตอนที่ ๓  กำหนดตัวชี้วัด และค่าเป้าหมายในการขับเคลื่อนค่านิยมองค์กร ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้




ที่
ตัวชี้วัด
น้ำหนัก
คะแนน
เป้าหมาย
หมายเหตุ
ร้อยละของบุคลากร สพอ.เบตง ที่ได้เสริมสร้างค่านิยม ชื่นชม (Appreciation)
๑๖
ร้อยละ ๘๐ ของบุคลากร สพอ.เบตง    (๔ คน) ที่ได้คะแนนประเมินรวม ๖ ข้อ    แต่ละตัวชี้วัด ตั้งแต่ ๒๔-๓๐ คะแนน


ร้อยละของบุคลากร สพอ.เบตง ที่ได้เสริมสร้างค่านิยม กล้าหาญ (Bravery)
๑๖
ร้อยละของบุคลากร สพอ.เบตง ที่ได้เสริมสร้างค่านิยม สร้างสรรค์ (Creativity)
๑๖
ร้อยละของบุคลากร สพอ.เบตง ที่ได้เสริมสร้างค่านิยม  “ใฝ่รู้ (Discovery)
๑๖
ร้อยละของบุคลากร สพอ.เบตง ที่ได้เสริมสร้างค่านิยม เข้าใจ (Empathy)
๑๖
ร้อยละของบุคลากร สพอ.เบตง ที่ได้เสริมสร้างค่านิยม เอื้ออำนวย (Facilitation)
๒๐
รวม
๑๐๐




            เกณฑ์การให้คะแนนตัวชี้วัด
                                    -  ตัวชี้วัด ABC DEF (ข้อ ๑ - ๖)
                                    ตัวอย่าง  เกณฑ์การให้คะแนนตัวชี้วัดค่านิยม ชื่นชม
ร้อยละ ๘๐ ของบุคลากรสพอ.เบตงที่มีผลการประเมินระหว่าง 24 30 คะแนน (5 คะแนน)
ร้อยละ ๗๐ ของบุคลากรสพอ.เบตงที่มีผลการประเมินระหว่าง 24 30 คะแนน (4 คะแนน)
ร้อยละ ๖๐ ของบุคลากรสพอ.เบตงที่มีผลการประเมินระหว่าง 24 30 คะแนน (3 คะแนน)
ร้อยละ ๕๐ ของบุคลากรสพอ.เบตงที่มีผลการประเมินระหว่าง 24 30 คะแนน (2 คะแนน)
ร้อยละ ๔๐ ของบุคลากรสพอ.เบตงที่มีผลการประเมินระหว่าง 24 30 คะแนน (1 คะแนน)
            ขั้นตอนที่ ๔  จัดทำแผนปฏิบัติการฯ โดยกำหนดกิจกรรมที่จะต้องปฏิบัติเพื่อขับเคลื่อนค่านิยมองค์กรทั้ง ๖ ตัวชี้วัดให้บรรลุเป้าหมาย
            ขั้นตอนที่ ๕  ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการโดยจัดทีมขับเคลื่อนค่านิยมองค์กร ดังนี้
                        ทีมที่ ๑  รับผิดชอบตัวชี้วัดที่ ๑ ร้อยละของบุคลากร สพอ.เบตงที่ได้เสริมสร้างค่านิยม ชื่นชม (Appreciation)
                        ทีมที่ ๒  รับผิดชอบตัวชี้วัดที่ ๒ ร้อยละของบุคลากรสพอ.เบตงที่ได้เสริมสร้างค่านิยม กล้าหาญ (Bravery)
                        ทีมที่ ๓ รับผิดชอบตัวชี้วัดที่ ๓ ร้อยละของบุคลากรสพอ.เบตง ที่ได้เสริมสร้างค่านิยมสร้างสรรค์ (Creativity)
                        ทีมที่ ๔  รับผิดชอบตัวชี้วัดที่ ๔ ร้อยละของบุคลากร สพอ.เบตง ที่ได้เสริมสร้างค่านิยม ใฝ่รู้ (Discovery)
                        ทีมที่ ๕ รับผิดชอบตัวชี้วัดที่ ๕ ร้อยละของบุคลากรสพอ.เบตง ที่ได้เสริมสร้างค่านิยม เข้าใจ (Empathy)
                        ทีมที่ ๖ รับผิดชอบตัวชี้วัดที่ ๖ ร้อยละของบุคลากรสพอ.เบตง ที่ได้เสริมสร้างค่านิยม เอื้ออำนวย (Facilitation)
                        นอกจากนี้ เพื่อสร้างผู้รับผิดชอบหลักในการขับเคลื่อนค่านิยมองค์กรให้เป็นรูปธรรมชัดเจน สพอ.เบตง จึงได้ดำเนินการคัดเลือกทูตค่านิยมองค์กรทีมละ  ๑  คน (บุคลากรมี ๔ คน        จึงซ้ำกัน)  โดยกำหนดให้มีหน้าที่ ดังนี้
                        ๑.  ศึกษาและแสดงออกซึ่งพฤติกรรมที่ดีตามแนวทางของค่านิยมองค์กร ABC DEF    เพื่อเป็นแบบอย่างแก่เพื่อนร่วมงาน
                        ๒.  ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากร ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามตัวชี้วัดที่ยังมีคะแนนประเมินต่ำกว่าเกณฑ์
                        ๓.  ทำหน้าที่ประสานงานภายในทีมและนอกทีม
                        ๔.  ทำหน้าที่ประเมินผลในภาพรวมของการขับเคลื่อนค่านิยมองค์กร
                        ๕.  ทำหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
                  และ สพอ.เบตง ได้ดำเนินการกำหนดปัจจัยหลัก และวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาที่ส่งผลสำเร็จต่อการนำค่านิยมองค์กร ABC DEF สู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม ด้วยเครื่องมือ ดังนี้
                   ๑) การประเมินตนเองเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไข

                         หลังจากการวิเคราะห์ปัจจัยหลักและสาเหตุของปัญหาร่วมกันแล้ว ก็จัดให้ทุกคน     ได้ประเมินตนเอง โดยเริ่มประเมินตนเองในการนำค่านิยมองค์กร ABC DEF ไปปฏิบัติ โดยใช้แบบฟอร์ม   ที่กำหนดขึ้น ซึ่งประกอบด้วย การประเมินโดยตนเอง (SA) และการประเมินโดยเพื่อนร่วมงาน (ทุกคน) และนำผลการประเมินทั้งสองแบบมาเปรียบเทียบกัน หากพบว่าข้อใดมีคะแนนจากเพื่อนร่วมงานอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่าคะแนนที่ได้จากการประเมินตนเอง ให้บุคคลผู้นั้นวางแผนพัฒนาตนเอง  ซึ่งจะมีการประเมินผลอีก  2 ครั้ง   เพื่อติดตามพฤติกรรมว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่อย่างไร
๒) การนำผลการประเมินตนเองสู่การปรับปรุงแก้ไข/สร้างแรงจูงใจ
                                    ทีมงาน สพอ.เบตง กำหนดกิจกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติตามค่านิยม ABC DEF  โดยได้พิจารณาจัดกิจกรรมต่างๆ  เพื่อส่งเสริมสนับสนุน/สร้างแรงจูงใจ ให้บุคลากร           ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามค่านิยม ABC DEF ที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนและต่อเนื่อง โดยกำหนดให้มีกิจกรรมหลัก  ๖  กิจกรรม ดังนี้
                                    กิจกรรมที่ ๑  ปฏิบัติอย่างไร ให้คนอื่นชื่นชม โดยให้อยู่ในความรับผิดชอบของทีมรับผิดชอบตัวชี้วัดที่ ๑
                                    กิจกรรมที่ ๒  ขอบอกว่าดี และยังมีให้แก้ไข โดยให้อยู่ในความรับผิดชอบของทีมรับผิดชอบตัวชี้วัดที่ ๒
                                    กิจกรรมที่ ๓    แค่คิดใหม่ อะไร ๆ ก็เปลี่ยนแปลง โดยให้อยู่ในความรับผิดชอบของทีมรับผิดชอบตัวชี้วัดที่ ๓
                                    กิจกรรมที่ ๔   ความรู้อยู่ไหน  ใคร ๆ ก็ถามหา โดยให้อยู่ในความรับผิดชอบของทีมรับผิดชอบตัวชี้วัดที่ ๔
                                    กิจกรรมที่ ๕  หนึ่งคนเข้าใจเรา โดยให้อยู่ในความรับผิดชอบของทีมรับผิดชอบตัวชี้วัดที่ ๕
                                    กิจกรรมที่ ๖   จงเป็นผู้เอื้ออำนวยเพื่อช่วยให้งานผู้อื่นง่ายขึ้น โดยให้อยู่ในความรับผิดชอบของทีมรับผิดชอบตัวชี้วัดที่ ๖
ตัวอย่างวิธีดำเนินการ
            กิจกรรม        ปฏิบัติตนอย่างไร ให้คนอื่นชื่นชม(Appreciation)
            วัตถุประสงค์
                                    ๑.  เพื่อตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของผู้อื่น
                                    ๒.  เพื่อยกย่องชมเชยความรู้ ความสามารถของผู้อื่น
                                    ๓.  เพื่อให้มีการแสดงออก พูด คิด ทำเชิงสร้างสรรค์           
                                    ๔.  เพื่อให้เป็นแบบอย่างของผู้ร่วมงาน และทีมงานที่ดี
            วิธีการ            ให้ทุกคนเขียนชื่อและคำชื่นชมของคนที่ตนเองชื่นชมทุก ๑๕ วัน ใส่ในกล่องที่เตรียมไว้ เมื่อสิ้นสุดกิจกรรมเปิดกล่องและรวบรวมจัดทำเป็นเล่มที่สวยงาม มอบให้เจ้าตัวเพื่อเก็บไว้เป็นความทรงจำที่ดี
            ขั้นตอนที่ ๖  การติดตามผลการปฏิบัติตามแผนฯ และการประเมินผล
                        ๑.  แบบประเมินพฤติกรรมตามค่านิยม ABC DEF สำหรับตนเอง (ทุกคนประเมินตนเอง)    ซึ่งประกอบด้วย จำนวน  ๖  ตัวชี้วัดหลัก และ ๓๖ ตัวชี้วัดย่อย
                        ๒. แบบประเมินพฤติกรรมค่านิยม ABC DEF สำหรับการมีส่วนร่วมของทุกคน ซึ่งประกอบด้วย จำนวน ๖ ตัวชี้วัดหลัก และ ๓๖ ตัวชี้วัดย่อย
                        ๓.  แบบเปรียบเทียบผลการประเมินหากพบว่าคะแนนที่ได้ยังไม่ผ่านเกณฑ์ บุคคลผู้นั้นจะต้องวางแผนพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
๓. ส่วนสรุป
                นอกจากรูปแบบ (Model) ที่ สพอ.เบตงนำเสนอทั้ง ๖ ขั้นตอนในการเสริมสร้างค่านิยมองค์กรในหน่วยงานอย่างยั่งยืนแล้วยังต้องใช้กลยุทธ์ในการเสริมสร้างค่านิยมองค์กรด้วยวิธีการ   ให้ดูผู้บริหารทุกระดับ (จังหวัดและอำเภอ) ที่สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาได้      ด้วยหลักการเอาใจเขามาใส่ใจเรา และความเอื้ออารีต่อกัน นอกจากนี้ สพอ.เบตง ยังกำหนดให้บุคลากรในสังกัดทุกคนต้องยึดเป้าหมายในการทำงานร่วมกันคือ ประโยชน์สูงสุดของประชาชน  โดยนำ  กลยุทธ์ ๔ พ. มาปรับใช้ในการขับเคลื่อนค่านิยมองค์กร ดังนี้
                ๑) พึ่งตนเอง เน้นให้บุคลากรในสังกัดทำงานอย่างมืออาชีพ ทำงานอย่างมีศักดิ์ศรี มีความตั้งใจ ทุ่มเทให้กับการปฏิบัติภารกิจ และมีความรอบรู้ในเนื้องานอย่างชัดเจน
                ๒) พอดี ส่งเสริมให้บุคลากรในสังกัดยึดหลักประชาธิปไตยในการทำงาน ยอมรับหลักการมีส่วนร่วม มีความโปร่งใส ปรับตัวได้เท่าทันตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง และมีความสมดุลย์ทั้งการใช้ชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงานในทุกมิติ
                ๓) พอเพียง สนับสนุนให้บุคลากรในสังกัดนำหลักความพอเพียงมาปรับใช้ในชีวิตการทำงาน โดยคำนึงถึงความรอบคอบ ครอบคลุม มีเหตุมีผล มีศีลธรรมจรรยา และความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
                ๔) พอใจ สพอ.เบตง สนับสนุน และเอื้ออำนวยให้การทำงานของบุคลากรในสังกัดมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น โดย สพอ.เบตง จะสนับสนุนการปฏิบัติตามภารกิจของหน่วยงานในทุกด้าน และจะวัดผลสัมฤทธิ์ด้วยการวัดความพึงพอใจของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในการปฎิบัติงานตามภารกิจของกรมฯ
จากความมุ่งมั่นของบุคลากรในสังกัด สพอ.เบตง ที่จะนำค่านิยมองค์กรไปปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืนด้วย Model ที่นำเสนอและกลยุทธ์ ๔ พ ...เพื่อรวมพลังก้าวสู่เป้าหมายสุดท้ายร่วมกัน นั่นคือ งานได้ผล คนมีสุข นั่นเอง

...............................................................................................................................................